สมาคมดัมมี่ สุดยอดแหล่งเรียนรู้ของคนชอบเล่นดัมมี่ ยินดีต้อนรับ Welcome to Dummy Club: The great site for Thai knock dummy lover ติดต่อ Contact Phone: 0838594567 Email: krujaab@gmail.com สมาคมดัมมี่ สุดยอดแหล่งเรียนรู้ของคนชอบเล่นดัมมี่ ยินดีต้อนรับ Welcome to Dummy Club: The great site for Thai knock dummy lover ติดต่อ Contact Phone: 0838594567 Email: krujaab@gmail.com

Kao Jaab's lifestyle Free and Easy

กติกาการเล่นดัมมี่น็อก 2025

                                

                ดัมมี่เป็นเกมการเล่นที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างกว้างขวางทั่วทุกมุมโลกรวมถึงประเทศไทยเราด้วยโดยวิธีการเล่นอาจแตกต่างกันออกไปตามกติกาของแต่ละพื้นที่ไพ่ดัมมี่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแต่น่าจะอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เริ่มมีไพ่ป๊อกเข้ามาเป็นครั้งแรก  เข้าใจว่าคนไทยคิดรูปแบบและกติกาการเล่นขึ้นมาใหม่ให้เป็นเกมที่สนุกสนานท้าทายไหวพริบสติปัญญาของผู้เล่นมาจนถึงปัจจุบัน     

        ระบบการเล่นดัมมี่ของไทยแบ่งออกเป็น 2 ระบบ หลักคือ ระบบ    น็อกสั้นและระบบจดแต้ม แต่ละระบบมีรายละเอียดของกติกาที่แตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่  ระบบน็อกสั้นเป็นระบบที่การเล่นจบลงในแต่ละเกม การนับแต้มจะนับเฉพาะเกมนั้น ไม่มีการสะสมแต้มอีกและนำแต้มของแต่ละคนมาจัดลำดับขั้นการเสียแต้ม คือเสียน้อย เสียกลาง และเสียมากอีกครั้งหนึ่งให้กับผู้ได้แต้มหรือผู้ชนะเกมนั้น 

ระบบจดแต้มเป็นการเล่นดั้งเดิมก่อนที่จะมีระบบน็อกสั้น เหมาะสำหรับการฝึกพื้นฐานการเล่น ผู้เล่นต้องพยายามสะสมแต้มไปเรื่อย ๆ ในแต่ละเกม ผู้ที่ได้แต้มถึง 500 ก่อนคือผู้ชนะในกรณีเล่นกัน 4 คน กติกาการเล่นไม่เข้มงวด  ผู้เล่นตีไพ่ได้สบายไม่ต้องกังวลมาก บางเกมอาจจะดึงแต้มกันไปมาทำให้ใช้เวลานานกว่าจะจบเกม 

        ปัจจุบันผู้เล่นนิยมเล่นระบบน็อกสั้นมากกว่าเพราะเป็นระบบการเล่นที่รวดเร็ว ไม่ยืดเยื้อ จบในเกม สามารถกำหนดเวลาเลิกได้  ระบบน็อกสั้นมีกติกาที่ละเอียด เข้มงวดมาก ผู้เล่นต้องใช้ฝีมือ ชั้นเชิง กลยุทธ์ต่าง ๆ มากมาย ทำให้การเล่นสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจกว่าระบบจดแต้มมาก

          อย่างไรก็ตามกติกาการเล่นไพ่ดัมมี่ระบบน็อกสั้นในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการตกลง เช่น บางพื้นที่ผู้เล่นน็อกแล้วแต่ไม่ชนะทันทียังต้องนับแต้มแข่งกับขาอื่นอีก ถ้าผู้น็อกมีแต้มน้อยกว่าขาที่มีแต้มมากที่สุดก็ให้จัดลำดับผู้น็อกอยู่ในขั้นเสียน้อย กติกานี้ผู้น็อกเหนื่อยเพราะกว่าจะน็อกได้ก็ยากแล้วยังจะต้องแข่งแต้มอีก 

                 บางกติกาการอมสเปโตจะได้เสียสองเท่าเฉพาะการเล่นมืดอมเท่านั้นแต่ถ้าผู้อมเกิดแล้วจะเสียค่าอมเท่าเดียว กติกานี้ถ้าผู้เล่นเกิดแล้ว อมสเปโตไว้ก็จะได้เปรียบขาอื่นมากถือสเปโตไว้เล่นคนเดียว คนรอก็รอไป บางครั้งไพ่บีบอาจจะต้องตีตัวกันให้ขาอมได้ไปด้วยอย่างนี้ไม่เป็นธรรมกับผู้เล่นด้วยกันหรือกติกาการตีโง่่ที่ผู้ตีเสียค่าโง่ให้ผู้ได้โง่คนเดียวขาอื่นไม่ได้เลย ทั้งที่ผู้ตีทำไพ่ขาอื่นเสียหายจึงควรมีส่วนได้รับค่าโง่ด้วย

         ด้วยเหตุผลนี้ สมาคมดัมมี่จึงออกแบบกติกาโดยยึดหลักความเป็นธรรม ทุกคนมีโอกาสเท่ากันที่จะได้หรือเสียแต้มขึ้นอยู่กับดวงและทักษะฝีมือของผู้เล่น ถ้าคุณคิดจะเล่นดัมมี่ต้องถามดูก่อนว่าการเล่นนั้นเป็นอย่างไร มีหลักกติกาที่สำคัญ  3 ข้อนี้หรือไม่ คือ

1. การน็อก น็อกชนะเลย ไม่ต้องนับแต้มแข่งกับใครและให้มีค่าน็อก

2. การตีโง่ ผู้ตีต้องเสียแต้มรอบวงและเสียให้ผู้ได้โง่ 2 เท่า

3. การอมสเปโต ให้มีได้หรือเสีย 2 เท่าไม่ว่าจะเล่นมืดหรือสว่าง     

          ถ้าคุณอยากจะหาประสบการณ์ดัมมี่ขอให้คุณเปิดใจกว้างลืมการเล่นแบบเดิม ๆ แล้วมาศึกษาการเล่นดัมมี่น็อกตามกติกานี้รับรองว่าจะสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจแม้แต่ไพ่ดัมมี่ของฝรั่งยังไม่สนุกสนานเท่าไพ่ดัมมี่น็อกของสมาคมได้ ที่สำคัญคือควรเล่นกันตามกติกา  ใช้ฝีมือกันอย่างเต็มที่ ไม่มีการโกงหรือเล่นรู้กันเป็นอันขาดเพราะจะทำให้บรรยากาศไม่สนุกสนานและขอฝากให้นำกติกานี้ไปใช้เล่นกันอย่างแพร่หลาย คุณจะเล่นกับใครที่ไหนก็ได้  ถ้าเล่นกันตามกติกานี้ขอบอกว่า เก่งไม่กลัว กลัวเฮงกับกลัวตีโง่ ฮา

กติกาดัมมี่น็อก 2025 ตัดข้อที่ไม่จำเป็นหรือที่ซ้ำซ้อนออกไปทำให้จำนวนข้อน้อยลงกว่าเดิม และเพิ่มการห้ามโชว์ไพ่ให้ขาอื่นเห็น ถ้าโชว์ไพ่ต้องโชว์ให้เห็นหมดทุกขา เหตุผลเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบและเพิ่มหลักการเก็บไพ่ปี้คือต้องเอาไพ่ 1 ใบลงมาเก็บจึงจะเป็นการเก็บไพ่ปี้ที่ถูกต้อง

หากไม่เข้าใจกติกาโปรดอ่านคำอธิบายกติกาดัมมี่น็อกก่อน และคอยติดตามการปรับปรุงกติกาอยู่เสมอ

             เชิญศึกษากติกาดัมมี่น็อกของสมาคมได้เลยครับ

 

         
                              
        กติกาการเล่นดัมมี่น็อก 2025

 

    สถานที่และอุปกรณ์


          1. ให้จัดสถานที่และอุปกรณ์ในการเล่นไว้ดังนี้
               1.1 จัดเก้าอี้ 4 ตัวหันหน้าเข้าหาโต๊ะกลาง 1 ตัวและจัดไว้ในที่ลับตาคน
               1.2 ผ้าปูรองพื้นเป็นเนื้อผ้าอ่อนนุ่มยึดจับไพ่ได้ดี
               1.3 ไพ่ป๊อกพลาสติกขนาดมาตรฐานไม่มีตำหนิ 1 สำรับ 
               

      คำศัพท์ดัมมี่น็อก

          2. นิยามคำศัพท์ดัมมี่น็อกดังนี้ 

ความหมายของไพ่และลักษณะไพ่ 

     สี          ลักษณะดอกของหน้าไพ่มี 4 ดอกเรียงตามลำดับใหญ่สุดถึงเล็กสุดคือโพดำ โพแดง ข้าวหลามตัด ดอกจิกหรือสีของไพ่มี 2 สี คือ สีดำและสีแดง 

     ตอง      ไพ่ชุดเลขหรืออักษรเดียวกันแต่ต่างสีกัน 3 ใบหรือ 4 ใบเช่น 3 โพดำ 3 โพแดง 3 ดอกจิกรวมเป็น 1 ชุดตอง 

     เรียง     ไพ่ชุดสีเดียวกันเรียงลำดับตั้งแต่ 3 ใบขึ้นไปเป็น 1 ชุดเรียงเริ่มจากไพ่ตัวเล็กสุดตั้งแต่ 2-3-4-5-6-7-8-9-10-J-Q-K-A ตัวใหญ่สุด  การเรียงจะเรียงขึ้นไปที่เลขใดก็ได้เช่น 2-3-4 โพแดง 8-9-10-J ดอกจิก Q-K-A โพดำ แต่เรียง K-A-2 ไม่ได้

    สเปโต      ไพ่ Q โพดำหรือไพ่ 2 ดอกจิก

    หัว             ไพ่ที่หงายใบแรกของต้นกองไว้ให้ขาอื่นทิ้งไพ่ต่อท้าย

    ตัวกัน      1. ไพ่ข้างเคียงไพ่สเปโตในลักษณะตองหรือเรียงเช่น ไพ่ 2 ทุกสี ไพ่ ทุกสี ไพ่ 3-4 ดอกจิก ไพ่ 10-J-K-A โพดำ  2. ไพ่เลขเดียวหรืออักษรเดียวกับไพ่หัวหน้าตอง  3. ไพ่หน้าเรียงลำดับหัวหรือ ท้าย 1 ถึง 2 ตำแหน่ง ของไพ่หัว เช่น ตัวกันหัวของ 9 โพแดงหน้าเรียงลำดับหัวตำแหน่งที่ 1 คือ 10 และตำแหน่งที่ 2 คือ โพแดง ไพ่เรียงลำดับท้ายตำแหน่งที่ 1  คือ 8 และ ตำแหน่งที่ 2 คือ 7 โพแดง

     ขาว         ไพ่ตัวกันสเปโตในลักษณะตอง เช่น 2 โพดำ 2 โพแดง 2    ข้าวหลามตัด เรียกว่า 2 ขาว โพแดง ข้าวหลามตัด ดอกจิก เรียกว่า ขาว

     ตัวโง่          ไพ่ตัวที่ขาล่างเก็บมาต่อเข้าชุดเรียงหรือตองแล้วน็อก

     ดัมมี่          ไพ่ที่ต่อจากไพ่ชุดเรียงลำดับหัวหรือท้ายตำแหน่งที่ 1และที่ 2 หรือตำแหน่งที่ 3 กรณีใช้เป็นตัวคว่ำดัมมี่น็อกหรือไพ่ใบที่ 4 ของไพ่ชุดตอง

    ไพ่สนาม        ไพ่ที่วนเวียนอยู่ในกองทิ้ง 2-3 รอบ

    ไพ่หาย          ไพ่ใบเดียวที่ไม่เห็นทั้งหน้าเรียงและหน้าตอง

    ไพ่กัดคู่          การถือไพ่คู่เหมือนกันกับไพ่ขาอื่น   

ความหมายตำแหน่งผู้เล่นและรอบการเล่น

     ขาบน           ขาที่อยู่ทางด้านซ้ายของผู้เล่น

     ขาล่าง          ขาที่อยู่ทางด้านขวาของผู้เล่น

     ขาตรงข้าม   ขาที่อยู่ตรงข้ามของผู้เล่น

     ขาสุดท้าย    ผู้เล่นที่จั่วไพ่ใบสุดท้าย

     รอบ             การเล่นเวียนมาถึงผู้เล่นอีกครั้งหนึ่ง

ความหมายการเล่นและการตีไพ่

     จั่ว             เปิดไพ่ใบบนของกองจั่ว

     จั่วขาด      จั่วไพ่ใบสุดท้ายเพื่อปิดเกม

     ล้วง           จั่วไพ่ตัวกันหัวหรือสเปโตเข้าคู่

     เกิด            เก็บไพ่ในกองทิ้งโดยเฉพาะการเก็บไพ่ครั้งแรก

     ฝาก           ลงไพ่ดัมมี่

     น็อก          จบเกมไพ่ด้วยไพ่ชุดเรียงหรือตองหรือฝากดัมมี่

    มืด             ไม่มีการเกิดของไพ่ผู้เล่น

    สว่าง          มีการเกิดของไพ่ผู้เล่นแล้ว

    น็อกสี        จบเกมไพ่ด้วยการเรียงไพ่ชุดสีเดียวกัน 

    ถือสี           ถือไพ่ทุกใบสีเดียวกันทั้งมืดและสว่าง

    อม             ถือไพ่สเปโตไว้ในมือ

    ตี                ทิ้งไพ่ลงในกองทิ้ง

    ปี้                ตีไพ่เลขเดียวกันหรือเลขเรียงสีติดกัน

    เต็ม            ตีปี้ไพ่คู่ให้กลายเป็นไพ่ชุดเรียงหรือตอง

     โง่               ตีไพ่ให้ขาล่างเก็บไพ่ใบนั้นมาน็อก

     ค้ำ              ตีตัวกันสเปโต

     ฝัง              ตีตัวกันสเปโตไว้ต้นกอง

     ไล่               ตีไพ่ข้างเคียงตามไพ่ที่ขาล่างตี

     ฆ่า              ตีปี้ไพ่ตัวกันสเปโตให้ขาอื่นเกิด   

     ส่งหอก       ตีตัวโง่ให้เก็บ

     สัมผัส         ตีไพ่ให้ผู้เล่นเก็บขึ้นมาต่อเรียงหรือตองแล้วน็อก

     ข้าม            ขาตรงข้ามตีไพ่มาแล้วผู้เล่นเก็บไพ่ใบนั้นน็อกได้

     แต่ง            ทำให้ไพ่บนมือเข้าชุดกันให้มากที่สุด

     คั่ว              คอยโง่หรือหาดัมมี่น็อก

     ฉีก              แยกไพ่คู่บนมือ      

     เสียบ          จั่วหรือเก็บไพ่เข้าระหว่างกลางไพ่เรียง

     สกัด            เก็บไม่ให้ขาอื่นเกิดหรือได้ไพ่ตัวกัน 

    เผา             น็อกหรือกินแต้มทำให้ขาอื่นไม่ได้เกิด   

     ลอย           น็อกโดยที่สามารถจั่วไพ่คว่ำได้ทันทีเมื่อถึงรอบ   

     ชน            น็อกผู้เล่นที่มีการเล่นเหมือนกันได้ก่อนเช่น มืดชนมืด  

     ชนตึก        จัดไพ่บนมือครบชุดแต่ไม่มีไพ่คว่ำน็อก

     ตัน             ไม่มีดัมมี่ต่อไพ่ชุดเรียงหรือตอง

     กิน             ได้ชุดไพ่หัวหรือสเปโตหรือได้แต้มมากที่สุดกรณีไม่มีผู้น็อก

  

         วิธีการเล่น


            3. ผู้เล่น 4 คนนั่งล้อมวงกันแจกไพ่เวียนขวา คนละ 7 ใบหงายไพ่หัว 1 ใบผู้เล่นคนแรกจั่วไพ่ 1 ใบหรือเก็บไพ่และทิ้งลงมา 1 ใบ เป็นการจบการเล่น 1 ครั้ง ผู้เล่นคนถัดไปทำเช่นเดียวกัน คือจั่ว 1 ใบ หรือเก็บไพ่และทิ้ง 1 ใบ เกมดำเนินไปเรื่อย ๆ ผู้เล่นต้องพยายามจัดไพ่บนมือให้เป็นชุดเรียงหรือตองโดยการจั่วหรือเก็บไพ่ในกองหรือฝากไพ่ดัมมี่ต่อจากไพ่ชุดของตนเองหรือของคนอื่น เกมจบลงเมื่อผู้ใดที่สามารถจัดไพ่ในมือของตนเองเสร็จก่อนและมีไพ่หนึ่งใบคว่ำน็อกผู้นั้นเป็นผู้ชนะและได้กินแต้มส่วนผู้แพ้ให้นับแต้มแข่งกันเพื่อจัดลำดับดูว่าใครจะเสียน้อย เสียกลาง หรือเสียมากในกรณีผู้เล่นจั่วไพ่หมดกองแล้วยังไม่มีผู้น็อกก็ให้ผู้เล่นทั้งหมดนับแต้มแข่งกันผู้ใดมีแต้มมากที่สุดผู้นั้นเป็นผู้ชนะและได้กินแต้มส่วนขาอื่นที่เหลือให้นับแต้มเพื่อจัดลำดับขั้นการเสียแต้มตามกติกากันต่อไป      

การจับใหญ่

                4ก่อนการเล่นครั้งแรกต้องมีการจับใหญ่เพื่อเลือกที่นั่ง

                5. การเปิดการจับใหญ่ให้ผู้ทำหน้าที่เปิดการจับใหญ่ ทำไพ่วางกองไพ่คว่ำหน้าลงแล้วคลี่ไพ่กระจายออกซ้อนกันและให้ผู้เล่นแต่ละคนเลือกไพ่ 1ใบหงายหน้าไพ่
                6ผู้ที่จับได้ตัวใหญ่สุดเป็นผู้เลือกที่นั่ง ผู้ที่ได้ตัวรองลงมาให้นั่งเรียงลำดับขวามือเวียนทวนเข็มนาฬิกาจนครบทุกขา
                7เวลาจับใหญ่ปกติทุกๆ 1 ชั่วโมง 30 นาที หากการเล่นผ่านไปจนครบเวลาแล้วยังไม่มีการตีโง่เกิดขึ้นให้จับใหญ่ใหม่ หากมีการตีโง่ก่อนให้เริ่มต้นนับเวลาจับใหญ่ใหม่
                8. การจับใหญ่ครั้งต่อไปถ้าผู้เล่นขาล่างอยู่ที่เดิมให้จับใหญ่ใหม่จนกว่าจะเปลี่ยนที่

       การทำไพ่

                9. การเริ่มเล่นเกมแรกให้ผู้ที่จับได้ตัวใหญ่สุดเป็นผู้ทำไพ่
                10. การเล่นเกมต่อไปผู้น็อกเป็นผู้ทำไพ่ 
                11. ถ้าเกมใดไม่มีผู้น็อกให้ขาที่ต่อจากขาที่จั่วไพ่ใบสุดท้ายเป็นผู้ทำไพ่

         การตัดไพ่

                 12. ให้ขาล่างมีหน้าที่ตัดไพ่ ถ้าขาล่างไม่ตัดหรือไม่อยู่ต้องให้ขาถัดไปเป็นผู้ตัดแทน


                 13. ถ้าไม่มีขาใดตัดไพ่ ให้ผู้แจกตัดไพ่เอง ห้ามแจกไพ่โดยที่ไม่มีการตัด 

   
 
   การแจกไพ่

 14. ผู้ทำไพ่แจกไพ่คว่ำหน้าลง เวียนขวาทีละใบให้ตรงหน้าที่นั่งผู้เล่นแต่ละคนจนครบคนละ  7 ใบโดยเริ่มแจกใบแรกที่ผู้ทำไพ่ก่อน

               15. หากได้รับไพ่ไม่ครบต้องร้องให้ผู้แจกทราบภายในรอบแรกของการแจกไพ่

               16. การแจกไพ่ขาด การแจกไพ่เกิน การแจกไพ่หงาย ให้เปลี่ยนเป็นขาล่างแจกแทน

               17ถ้ามีการตีโง่กันเกิดขึ้นให้สลับที่นั่งกันระหว่างผู้ตีโง่และผู้ได้โง่ก่อนแจกไพ่ในเกมต่อไป 

           การหงายไพ่
                18. ให้หงายไพ่ใบบนสุดของกองที่เหลือแจก                                                                                        19ห้ามผู้ตัดไพ่หรือผู้เล่นคนอื่นหงายไพ่หัว                                                                                         20. การเก็บไพ่ที่หงายหัวครั้งแรกให้ผู้เก็บได้ค่าหัว


           การจั่วไพ่


        21. จั่วไพ่ครั้งละ 1 ใบโดยไม่ต้องหงายให้ขาอื่นเห็น

        22. ผู้เล่นแตะหลังไพ่แล้วต้องจั่วขึ้นไปจะเปลี่ยนใจมาเก็บไม่ได้

  

            การโชว์ไพ่

                  23 ห้ามผู้เล่นโชว์ไพ่ให้ขาอื่นเห็น หากโชว์ไพ่ต้องหงายโชว์ให้เห็นหมดทุกขา

        24. ผู้เล่นโชว์ไพ่จะเก็บแล้วต้องเก็บ ถ้าไม่เก็บต้องตีไพ่ใบนั้นทิ้ง

                25. ผู้เล่นโชว์ไพ่จะตีแล้วต้องตี เปลี่ยนตัวตีใหม่ไม่ได้

                  

        การตีไพ่

            26. หลังจากผู้เล่นจั่วไพ่หรือเก็บไพ่แล้วต้องตีไพ่ลงในกองทิ้ง 1 ใบ เมื่อตีไพ่แล้วห้ามเอาขึ้น

            27. การตีปี้หัว ถ้าผู้ใดเก็บไพ่หัวได้ภายใน 1 รอบผู้ตีปี้หัวต้องเสียค่าหัวแทนขาอื่นอีก 2 ขาให้กับผู้เก็บได้ การตีปี้หัวหน้าเรียงทั้ง 2 คนถ้ามีผู้ใดเก็บได้ให้เสียค่าหัวทั้ง 2 คน

            28. การตีตัวกันสเปโต ถ้าผู้ใดมีสเปโตลงมาเก็บได้ภายใน 1 รอบผู้ตีตัวกันสเปโตต้องเสียค่าสเปโตแทนขาอื่นอีก 2  ขา  ให้กับผู้เก็บได้ และถ้าการตีนั้นเป็นการตีโง่ตัวกันสเปโตหรือตีให้สัมผัส  น็อก ผู้ตีต้องเสียค่าโง่ หรือค่าอมสเปโตแทนขาอื่นอีก  2  ขาให้กับผู้น็อกอมสเปโต

            29การตีตัวกันสเปโตหน้าเรียงทั้ง 2 คน ถ้ามีผู้ใดมีสเปโตลงมาเก็บได้ภายใน 1 รอบ ผู้ตีตัวกันสเปโตทั้ง 2 คนนั้นต้องเสียค่าสเปโตแทนขาอื่นอีก 2 ขาให้กับผู้เก็บได้ 

            30. การตีตัวกันปี้สเปโตหรือการตีสเปโตปี้ตัวกัน ถ้าผู้ใดมีตัวกัน  สเปโตลงมาเก็บได้ภายใน 1 รอบผู้ตีปี้ต้องจ่ายค่าสเปโตแทนขาอื่นอีก 2  ขาให้กับผู้เก็บได้ และถ้าการตีปี้นั้นเป็นการตีปี้หัวด้วย ผู้ตีปี้ต้องจ่ายค่าสเปโตและค่าหัวแทนขาอื่นอีก 2  ขาให้กับผู้เก็บได้    

            31. การตีไพ่เต็มชุดสเปโต ถ้ามีผู้ใดเก็บไพ่แล้วลงไพ่ชุดเต็มสเปโตนั้นได้ภายใน 1 รอบ ผู้ตีไพ่เต็มชุดสเปโตนั้นต้องเสียค่าสเปโตแทนขาอื่นอีก 2 ขาให้กับผู้เก็บได้

            32การตีไพ่เต็มชุดเรียงหรือตอง การตีดัมมี่ ให้เสียแต้มรอบวงแต่ถ้าไม่มีผู้ร้องการตีนั้นภายใน 1 รอบผู้ตีไม่ต้องเสียแต้มรอบวง    

        การเก็บไพ่

    33. การเก็บไพ่ปกติ ผู้เก็บต้องหงายไพ่ 1 ใบหรือ 2 ใบลงมาเก็บไพ่ให้ได้ 1 ชุดเรียงหรือชุดตองและต้องลงไพ่ใบที่เก็บในชุดนั้นด้วย ไพ่ที่เหลือต่อท้ายไพ่ที่เก็บต้องเอาขึ้นไปให้หมด การเก็บไพ่ปี้ให้ใช้ไพ่ 1 ใบลงมาเก็บเท่านั้น

    34. หยิบไพ่จากกองแล้วต้องเก็บขึ้นไปและให้เก็บได้เพียงครั้งเดียวจะเก็บไพ่ชุดอื่นอีกไม่ได้

    35. ห้ามเก็บไพ่หัวตัวกันสเปโต ไพ่ตัวกันสเปโตหรือไพ่ปี้หัวตัวกันสเปโตให้เกิดเป็นดัมมี่      สเปโต ได้แก่ ไพ่ชุดตอง 2 ขาวหรือตอง ขาว หรือไพ่ชุดเรียง 3 4 5 ดอกจิกหรือ 9 10 โพดำ ยกเว้น 1. มีการเกิดไพ่สเปโตแล้ว 2. มีการลงไพ่ชุดสเปโตด้วย 3. เป็นการเก็บไพ่ครั้งเดียวสัมผัส  น็อก           

    36. กรณีที่ขาสุดท้ายจั่วไพ่หมดกองแล้ว ขาที่ต่อจากขาสุดท้ายเก็บไพ่ไม่น็อกจะเก็บไม่ได้  

การลงไพ่

        37. การเล่นมืดผู้เล่นไม่สามารถลงไพ่ได้ ผู้เล่นเกิดไพ่แล้วจึงจะลงไพ่หรือฝากดัมมี่ได้

        38. ให้ลงไพ่จากชุดที่เก็บเป็นหลัก ถ้าไพ่ชุดเรียงที่เก็บนั้นมีดัมมี่ไม่ตันให้ถือดัมมี่ไว้ก่อน

        39. ลงไพ่แล้ว ลงเลย ห้ามเอาขึ้น ตีไพ่แล้วจะลงไพ่อีกไม่ได้ 

        40. ห้ามลงไพ่ชุดตัวกันสเปโตให้ขาอื่นฝากเป็นดัมมี่สเปโตได้แก่ ไพ่ชุดตอง 2 ขาว หรือ ตอง ขาว หรือไพ่ชุดเรียง  3 4 5 ดอกจิก  หรือ 9 10 โพดำ 

41. การลงไพ่ชุดสเปโตหรือการลงฝากดัมมี่สเปโต 2 3 ดอกจิก หรือ J Q โพดำ ให้ผู้ลงได้ค่าสเปโต

         42. กรณีไพ่ไม่ถึงรอบหมายถึงไพ่ในกองจั่วเหลือไม่เกิน 3 ใบก่อนตีไพ่ทิ้ง ผู้เล่นสามารถลงไพ่ชุดเรียงหรือตองที่ไม่ตันจากการเกิดหรือจากบนมือแข่งแต้มขาอื่นได้โดยไม่ต้องเหมาเสียแต้มแทนขาอื่นอีก 2 ขา ตามลำดับขั้นการเสียแต้ม

        43. กรณีไพ่ยังถึงรอบหมายถึงไพ่ในกองจั่วเหลือ 4 ใบขึ้นไปก่อนตีไพ่ทิ้ง ผู้ลงไพ่ชุดเรียงหรือตองที่ไม่ตัน ถ้ามีผู้ฝากดัมมี่ต่อแล้วน็อกได้ ผู้ลงต้องเหมาเสียแต้มแทนขาอื่นอีก 2 ขา ตามลำดับขั้นการเสียแต้ม ยกเว้น การลงไพ่ชุดสเปโต

      44. การฝากดัมมี่ต่อไพ่ชุดเรียงที่ไม่ตันไม่ว่าไพ่ในกองจั่วจะเหลือกี่ใบก็ตามถ้า มีผู้ลงไพ่ฝากดัมมี่หรือเก็บไพ่ในกองทิ้งฝากดัมมี่ต่อแล้วน็อกได้ผู้ลงไพ่ฝากดัมมี่ที่ไม่ตันต้องเหมาเสียแต้มแทนขาอื่น  อีก  2  ขา ตามลำดับขั้นการเสียแต้มให้แก่ผู้น็อกได้

        

         การน็อก

               45. การน็อกต้องมีไพ่ชุดเรียงหรือชุดตองหรือมีไพ่ดัมมี่ครบทุกตัวและมีไพ่ 1 ใบคว่ำน็อก

               46. การน็อกมืดต้องมีไพ่ชุดเรียงหรือชุดตองอย่างน้อย 1 ชุด 

       47. ถ้าขาบนตีโง่ผู้น็อกต้องน็อกจากการตีโง่นั้นจะเก็บไพ่สัมผัสน็อกไม่ได้

               48. ผู้เล่นตีไพ่แล้วจะน็อกในรอบนั้นไม่ได้

      

        การอมสเปโต


      49. ผู้อมสเปโตถ้าไม่น็อก ต้องเสียแต้มรอบวง

      50. การน็อกที่มีไพ่ชุดสเปโต ดัมมี่สเปโต หรือการคว่ำสเปโต น็อก ผู้น็อกได้ค่าอมสเปโต

     51. การได้โง่สเปโตหรือเก็บสเปโตน็อก ผู้น็อกได้ค่าสเปโต


 การกำหนดแต้ม

       52. กำหนดให้ไพ่แต่ละใบมีแต้มดังนี้

                       52.1 ไพ่เลข  2-3-4-5-6-7-8-9 ทุกสี มีค่าตัวละ 5 แต้ม ยกเว้น 2 ดอกจิก มีค่า 50 แต้ม
                       52.2 ไพ่เลข 10 ทุกสีและไพ่อักษร  J-Q-K ทุกสี มีค่าตัวละ 10 แต้ม ยกเว้นไพ่ โพดำ มีค่า 50 แต้ม

        52.3 ไพ่อักษร A ทุกสี มีค่าตัวละ 15 แต้ม


การนับแต้ม

     53. ไพ่ชุดที่เกิดแล้วหรือไพ่ที่ลงฝากดัมมี่คือไพ่แต้มบวกไพ่ที่อยู่บนมือคือไพ่แต้มลบ    การนับแต้มให้หักลบแต้มไพ่บนมือกับไพ่ที่เกิดแล้ว 

      การชนะแต้ม

    54. ผู้น็อกเป็นผู้ชนะแต้มเสมอขาอื่นที่เหลือให้นับแต้มเสียตามลำดับขั้นการเสียแต้ม

  55. ถ้าไม่มีผู้น็อกในเกมนั้นให้นับแต้มแข่งกันทั้ง 4 คนผู้ที่ได้แต้มมากที่สุดหรือติดลบน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะแต้ม ขาอื่นที่เหลือให้นับแต้มเสียตามลำดับขั้นการเสียแต้ม

  56. ถ้าเกมใดมีผู้ได้แต้มมากเท่ากัน 2 ขา ให้เกมนั้นมีผู้ชนะแต้มเท่ากันจากขาที่เสียตามลำดับขั้นการเสียแต้ม

    57. ถ้าเกมใดมีผู้ได้แต้มมากเท่ากัน 3 ขา ให้จับใหญ่ ผู้ที่จับได้ตัวใหญ่สุดเป็น  ผู้ชนะแต้ม ขาอื่นที่เหลือให้เรียงตามลำดับไพ่เพื่อจัดลำดับขั้นการเสียแต้มขั้นเสียน้อย และเสียกลาง

    58. ถ้าเกมใดมีผู้ได้แต้มมากเท่ากัน 4 ขาให้จับใหญ่ ผู้ที่จับได้ตัวใหญ่สุดเป็น  ผู้ชนะแต้ม ขาอื่นที่เหลือให้เรียงตามลำดับไพ่เพื่อจัดลำดับขั้นการเสียแต้ม 

          ลำดับขั้นการเสียแต้ม

            59. ขั้นการเสียแต้มมี 3 ขั้น  คือ  เสียน้อย  เสียกลาง  และเสียมาก  กรณีที่มีผู้น็อกผู้ที่ได้แต้มมากที่สุดให้เสียน้อย ผู้ที่ได้แต้มรองลงมาให้เสียกลางและผู้ที่ได้แต้มน้อยที่สุดให้เสียมาก กรณีที่ไม่มีผู้น็อก ผู้ที่ได้แต้มรองจากผู้ที่ได้แต้มมากที่สุดให้เสียน้อย ผู้ที่ได้แต้มรองลงมาให้เสียกลางและผู้ที่ได้แต้มน้อยที่สุดให้เสียมาก

      60. ผู้ที่ลบมืด ผู้ที่ลบสีสว่าง หรือผู้ที่ตีโง่สีสว่างให้เสียมาก

      61. ผู้ที่เกิดแล้วขาเดียวตีโง่มืดให้เสียน้อย                                                                                    62กรณีเกิดแล้ว 2 ขา ผู้ที่ตีโง่มืดให้เสียกลางผู้ที่ตีโง่ธรรมดากันเองให้เสียน้อย

     63. กรณีเกิดแล้ว 3 ขาผู้ที่ตีโง่มืดให้เสียมากผู้ที่ตีโง่ธรรมดากันเองให้เสียกลาง

      64. กรณีผู้เล่นเกิดทั้งหมดแล้ว  ผู้ที่ตีโง่ให้เสียมาก ขาอื่นที่เหลือให้นับแต้มแข่งกันเสียน้อยหรือเสียกลาง

      65. ถ้ามีผู้ได้แต้มเสียเท่ากันทั้ง 2 ขาให้หงายไพ่หัวตัดสินการเลือกสีดำหรือสีแดงในเกมต่อไปเพื่อจัดลำดับขั้นการเสียแต้มขั้นเสียน้อยกับเสียกลางหรือเสียกลางกับเสียมากโดยกำหนดสีให้ดังนี้ กรณีที่ผู้ได้แต้มเสียเท่ากันไม่ใช่ผู้ทำไพ่ ให้ผู้ที่ได้แต้มเสียคนแรกถัดจากผู้ทำไพ่เป็นสีดำ ผู้เล่นเสียถัดไปเป็นสีแดง กรณีที่ผู้ได้แต้มเสียเท่ากันและคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ทำไพ่ ให้ผู้เสียที่ทำไพ่เป็นสีดำอีกคนหนึ่งเป็นสีแดง เมื่อผลการหงายไพ่หัวเป็นสีดำตรงกับผู้ได้แต้มเสียตามที่กำหนดก็ให้เสียแต้มตามขั้นต่ำนั้น

     66.ถ้ามีผู้ได้แต้มเสียเท่ากันทั้ง 3 ขาให้จับใหญ่เพื่อจัดลำดับขั้นการเสียแต้ม ผู้ที่จับได้ตัวใหญ่สุดให้เสียน้อย ผู้ที่จับได้ตัวใหญ่รองลงมาให้เสียกลางและผู้ที่จับได้ตัวเล็กสุดให้เสียมาก

      67.ถ้าแต้มมากเท่ากัน 2 ขาผู้ที่ได้แต้มรองลงมาให้เสียกลางและผู้ที่ได้แต้มน้อยที่สุดให้เสียมาก

      68. ถ้าแต้มมากเท่ากันทั้ง 3 ขาผู้ที่ได้แต้มรองลงมาให้เสียมาก

การเสียแต้ม

 69. ก่อนเล่นให้ผู้เล่นตกลงระดับการเล่นและอัตราการเสียแต้มตามตารางข้างล่างนี้ 


อัตราการเสียแต้ม

ระดับการเล่น

เสียน้อย

เสียกลาง

เสียมาก

ระดับเทพ

80

100

120

ระดับเซียน

100

200

300

ระดับโคตรเซียน

200

300

400


                70. การเสียแต้มให้แยกเสียตามการทำผิดกติกาหรือค่าการเล่นไพ่ที่ได้หรือเสียต่างๆในแต่ละข้อ
                71. ค่าการเล่น ได้แก่ ค่าหัว ค่าสเปโต ค่าน็อก ค่าโง่ ค่าดัมมี่  ค่าตีดัมมี่ ค่าตีเต็มชุดเรียงหรือตอง ค่าตีปี้ ค่าคว่ำดัมมี่น็อก ค่าคว่ำสเปโตน็อกมีค่าเท่ากับเสียกลาง การคว่ำ
สเปโตน็อกหากสเปโตเป็นดัมมี่ให้เพิ่มค่าดัมมี่ด้วย

                72. การอมสเปโตหรือการอมสเปโตคว่ำน็อกมีค่าเท่ากับ 2 เท่าของเสียกลาง
                73. การเก็บไพ่หัวน็อกอมสเปโตมีค่าเท่ากับ 3 เท่าของเสียกลาง
                74. การตีโง่ธรรมดาต้องเสียค่าโง่ให้กับผู้ได้โง่เป็น 2 เท่าของเสียกลางการตีโง่มืดให้เสียเป็น 4 เท่าการตีโง่สีสว่างให้เสียเป็น 8 เท่าและการตีโง่
สีมืดให้เสียเป็น 16 เท่าของเสียกลาง

                75. การตีโง่ธรรมดาต้องเสียค่าโง่รอบวงอีก2ขาในอัตราเสียกลางการตีโง่มืดต้องเสียค่าโง่รอบวง 2 เท่าการตีโง่สีสว่างต้องเสียรอบวง 4 เท่า และการตีโง่สีมืดต้องเสียรอบวง 8 เท่าของเสียกลาง

               76. การน็อกมืดหรือการลบมืดธรรมดา คิด 2 เท่าการน็อกสีสว่างหรือการลบสีสว่างคิด 4 เท่า การน็อกสีมืดหรือการลบสีมืดคิด 8 เท่าของอัตราการเสียแต้มเสียน้อย เสียกลางและเสียมากตามลำดับ

              77. การเสียค่าชน ผู้ลบมืดต้องเสียค่าชนในขั้นเสียมาก  การลบมืดชน  น็อกมืด ผู้ลบมืดต้องเสียค่าลบมืดให้แก่ผู้น็อกมืดในอัตรา 4 เท่า การลบมืดชนน็อกสีสว่าง ผู้ลบมืดต้องเสียให้ผู้น็อกสีสว่าง 8 เท่า การลบมืดชนน็อกสีมืดหรือ  การลบสีมืดชนน็อกมืดผู้ลบมืดต้องเสียให้ผู้น็อกมืด 16 เท่า การลบสีมืดชนน็อกสีสว่างผู้ลบสีมืดต้องเสียให้ผู้น็อกสีสว่าง 32 เท่าและการลบสีมืดชนน็อกสีมืดผู้ลบสีมืดต้องเสียให้ผู้น็อกสีมืด 64 เท่า

                78. การเสียค่าถือสีสว่าง ผู้ถือสีสว่าง หากมีผู้น็อก ผู้ถือสีสว่างต้องเสียค่าลบสีสว่างให้แก่ผู้น็อกในขั้นเสียมาก 4  เท่า เสียให้แก่ผู้น็อกมืด 8 เท่าเสียให้แก่ผู้น็อกสีสว่าง 16 เท่า และเสียให้แก่ผู้น็อกสีมืด 32 เท่า

                79. การเสียค่าน็อก  ผู้เสียทุกขาต้องเสียค่าน็อกให้แก่ผู้น็อกสว่างในอัตราเสียกลาง การน็อกมืดคิดค่าน็อก 2 เท่า การน็อกสีสว่างคิด 4 เท่า การน็อกสีมืดคิด 8 เท่าของเสียกลาง

                80. การแจกไพ่ขาด การแจกไพ่เกิน การโชว์สเปโต 2 ตัว การเกิดไพ่หัว หรือสเปโต การตีดัมมี่ การตีไพ่เต็มชุดเรียงหรือตอง การเสียแต้มแทนขาอื่น ให้เสียแต้มทันที การตีโง่         การอมสเปโต การเสียแต้มตามลำดับขั้น การน็อก การคว่ำดัมมี่หรือสเปโตน็อก ให้เสียแต้มหลังจบเกม 
                81. ในรอบแรกของการแจกไพ่ ผู้เล่นคนใดที่ถือไพ่สเปโต 2 ตัวเมื่อถึงรอบของตนให้โชว์สเปโต 2 ตัวก่อนจั่วไพ่หรือเก็บไพ่ จะได้รับค่าโชว์สเปโตในอัตรา 2 เท่าของเสียกลาง แต่ถ้ามีผู้น็อกมืดก่อนถึงรอบผู้เล่นที่ถือไพ่สเปโตนั้น ผู้ถือสเปโตจะต้องเสียค่าอมสเปโตในอัตรา 4 เท่าของเสียกลาง 
 

        การเหมาเสียแต้มแทนขาอื่นตามลำดับขั้นการเสียแต้ม


                82. การเหมาเสียแต้มแทนขาอื่นตามลำดับขั้นการเสียแต้ม หมายถึงผู้เล่นเหมาเสียแต้มแทนขาอื่นอีก 2 ขาให้แก่ผู้น็อกตามลำดับขั้นการเสียแต้มรวมถึงค่าการเล่นอื่นๆทุกอย่างที่ผู้น็อกมีหรือขาอื่นมีด้วยเช่น ค่าน็อก ค่าอมสเปโต ค่าคว่ำดัมมี่ ค่าโง่ ค่าตีปี้หัวหรือสเปโต ในกรณีต่อไปนี้  
                        82
.1  ผู้เล่นตีไพ่ปี้ให้ผู้เล่นขาล่างที่ถือไพ่ใบเดียวเก็บน็อกได้
                        82.2  ผู้เล่นตีไพ่ปี้ไพ่ใบสุดท้ายให้ผู้เล่นขาล่างที่ถือไพ่ 2 ใบเก็บน็อกได้
                       82.3  ผู้เล่นตีไพ่ปี้ไพ่ใบสุดท้ายและทำให้ผู้เล่นขาตรงข้ามที่ถือไพ่ใบเดียวเก็บน็อกได้
                       82.4 ผู้เล่นลงไพ่ชุดเรียงหรือตองที่ไม่ตัน กรณีไพ่ยังถึงรอบและมีผู้ฝากดัมมี่ต่อแล้ว                                  น็อกตามกติกาข้อที่ 43.
                       82.5 ผู้เล่นฝากดัมมี่ต่อไพ่ชุดเรียงที่ไม่ตันและมีผู้ฝากดัมมี่หรือเก็บไพ่ในกองฝาก                                      ดัมมี่ต่อแล้วน็อกตามกติกาข้อที่ 44. 
 
 
        การปรับเสียแต้มรอบวง

                     83. ผู้เล่นทำผิดกติกาต่อไปนี้ต้องถูกปรับเสียแต้มรอบวงในอัตราที่ตกลงกันไว้และให้การเล่นจบลง
                            83.1 ผู้แจกไพ่แจกไพ่ขาด แจกไพ่เกิน
                            83.2 ผู้เล่นน็อกไม่ถูกต้องและหงายไพ่ในมือทั้งหมดแล้ว
                            83.3 ผู้เล่นเก็บรวบไพ่ยาวขึ้นไปแล้วลงไพ่ชุดที่เก็บนั้นไม่ได้

            การจบการเล่น

                    84. การเล่นจบลงเมื่อ
                            84.1 มีการน็อกอย่างถูกต้อง
                            84.2 ไพ่หมดกองแล้วขาที่ต่อจากขาสุดท้ายเก็บไพ่ไม่น็อก
                            84.3 การเล่นเป็นไปตามกติกาข้อ 83.
                            84.4 มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถเล่นต่อไปได้
        
    การคิดแต้ม

              85. หลังจบเกมแล้ว ให้ผู้น็อกหรือผู้ได้กินแต้มคิดแต้มจากผู้เสียแต่ละคน ดังนี้
                    85.1 กรณีไม่มีผู้น็อกให้คิดแต้มตามลำดับขั้นการเสียแต้มได้แก่ เสียมาก เสียกลาง หรือเสียน้อย  มีการลบมืดหรือไม่
                    85.2 กรณีมีผู้น็อกให้คิดแต้มตามลำดับขั้นการเสียแต้มบวกค่าน็อกตามประเภทของการน็อก เช่น  น็อกธรรมดา  หรือน็อกมืด มีการชนมืดหรือไม่และบวกค่าการเล่นอื่น ๆ ที่ผู้น็อกมี เช่น ค่าหัว ค่าอมสเปโต  ค่าคว่ำสเปโต หรือค่าคว่ำดัมมี่น็อก
                    85.3 การบวกค่าการเล่นอื่นที่ผู้น็อกมี   ผู้น็อกต้องบอกให้ผู้เล่นทราบด้วย เมื่อเสียแต้มแล้วผู้น็อกจะคิดค่าการเล่นอื่นอีกไม่ได้
 
      การคิดแต้มโดยใช้สูตรกรณีมีผู้ตีโง่หรืออมสเปโต

           86. วิธีการคิดแต้มแบบเหมาค่าโง่เป็นค่าน็อกให้กับผู้ได้โง่
                   86.1  ผู้ตีโง่ใช้สูตร (ค่าโง่อัตราเสียกลาง จำนวนเท่าของประเภทการตีโง่) x 5 + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม xจำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน)
                             ผู้เสียขาอื่นใช้สูตร   - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม x จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน)
                 86.2 กรณีมีผู้อื่นอมสเปโตช่วยผู้ตีโง่ด้วยให้ใช้สูตร  (ค่าโง่อัตราเสียกลาง จำนวนเท่าของประเภทการตีโง่) x 5 + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม xจำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) -  ค่าอมสเปโต 
                       ผู้เสียขาอื่น ใช้สูตร   - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) ค่าอมสเปโต
                   86.3 กรณีผู้ตีโง่อมสเปโตด้วยให้ใช้สูตร  (ค่าโง่อัตราเสียกลาง จำนวนเท่าของประเภทการตีโง่) x 5 + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภท การน็อกหรือค่าชน) (ค่าอมสเปโต 3) 
                       ผู้เสียขาอื่นใช้สูตร   - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) ค่าอมสเปโต 
                   86.4 กรณีมีผู้อื่นอมสเปโตช่วยผู้ตีโง่ที่อมสเปโตด้วยให้ใช้สูตร (ค่าโง่อัตราเสียกลาง จำนวนเท่าของประเภทการตีโง่) x 5 + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) + (ค่าอมสเปโต x 2)
                       ผู้เสียที่อมสเปโตใช้สูตร  (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) (ค่าอมสเปโต x 2)
                       ผู้เสียขาอื่นใช้สูตร  - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) + (ค่าอมสเปโต x 2 ) 
               87. วิธีการคิดแต้มแบบเหมาค่าอมสเปโตเป็นค่าเสียแต้มตามลำดับขั้นการเสียแต้มรวมค่าน็อกให้กับผู้น็อก
                       87.1 ผู้อมสเปโตใช้สูตร (ค่าอมสเปโต 3) + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม x จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) + ค่าน็อกตามประเภทการน็อก
                               ผู้เสียขาอื่นใช้สูตร   - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน + ค่าน็อกตามประเภทการน็อก) + ค่าอมสเปโต
                     87.2 กรณีมีผู้อมสเปโต 2 คน ให้ใช้สูตร (ค่าอมสเปโต 2) + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม x จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) +  ค่าน็อกตามประเภทการน็อก
                              ผู้เสียขาอื่นใช้สูตร   - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อก + ค่าน็อกตามประเภทการน็อก) + (ค่าอมสเปโต x 2)
                       87.3 กรณีผู้อมสเปโตชนกับผู้น็อกอมสเปโตให้ใช้สูตร  (ค่าอมสเปโต 4) + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม x จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) + ค่าน็อกตามประเภทการน็อก
                               ผู้เสียขาอื่นใช้สูตร  - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) + ค่าน็อกตามประเภทการน็อก
                      87.4 กรณีมีผู้ตีโง่ช่วยผู้อมสเปโตด้วยให้ใช้สูตร (ค่าอมสเปโต 3) + (ลำดับขั้นการเสียแต้ม x จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน)
                       ผู้เสียขาอื่นใช้สูตร  - (ลำดับขั้นการเสียแต้ม จำนวนเท่าของประเภทการน็อกหรือค่าชน) +  ค่าอมสเปโต

 

         สิทธิ์ของผู้เล่น 

                    88. ผู้เล่นมีสิทธิ์ในการเล่นดังนี้      
                           88.1 สิทธิ์คลี่ไพ่ได้เพื่อดูจำนวนไพ่ที่เหลือก่อนจั่วไพ่หรือเก็บไพ่ในการเล่นท้ายเกม
                           88.2 สิทธิ์ขอจับใหญ่ใหม่ หากการเล่นผ่านไปจนครบเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที แล้วยังไม่มีการตีโง่เกิดขึ้น  
                           88.3  สิทธิ์ขอล้างไพ่ก่อนการทำไพ่ครั้งต่อไปเมื่อผู้เล่นไม่ได้น็อกเลยเป็นเวลา 1  ชั่วโมง
                           88.4 สิทธิ์ขอเปลี่ยนไพ่ใหม่ถ้าไพ่มีรอยตำหนิ หักงอหรือเมื่อผู้เล่นเสียค่าวิชามากเกินไป

                                  ♠  ♥  ♦