บทที่
5
พลานุภาพ
ซุนวูกล่าวว่า
1. ควบคุมไพร่พลกลุ่มใหญ่ได้เหมือนควบคุมไพร่พลกลุ่มน้อย
ด้วยการจัดกำลังพลแบ่งตามตำแหน่งให้ถูกต้อง
2. บัญชาไพร่พล 3 ทัพเมื่อสู้ศึก ให้ไพร่พลห้าวหาญ มีพลัง
3. สู้ศึกด้วยรบสามัญ ชนะด้วยรบพิสดาร
สามัญเป็นพิสดาร พิสดารเป็นสามัญ
พลิกผันได้ไม่รู้จบ ตามสถานการณ์
4. กระแสน้ำไหลเชี่ยว พัดหินลอยเคลื่อน นี่คือพลานุภาพ
5.
เหยี่ยวโฉบนกแรง ฆ่านกได้ นี่คือจังหวะเวลา
6.
ความมีระเบียบ และความวุ่นวาย ขึ้นอยู่กับการจัดกำลังพล
7.
ความกล้าหาญ และความกลัว ขึ้นอยู่กับพลานุภาพ
8.
มีกำลังหรืออ่อนแอ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการรบ
9. แม่ทัพผู้ชำนาญศึก พึงแสวงหาจากพลานุภาพ
สร้างความได้เปรียบ คุมสถานการณ์ได้ตามที่ต้องการ
โจมตีอย่างรวดเร็ว
10. การรบต้องมีการลงทุน ต้องรู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์
11. พึงสร้างรูปลักษณ์ให้ข้าศึกคล้อยตาม วางเหยื่อล่อให้
ข้าศึกหลงกล
บทที่ 5
พลานุภาพ
ในบทนี้
ซุนวูให้ความสำคัญแก่พลานุภาพเป็นอันมาก
พลานุภาพนี้หมายถึงการขยายกำลังการสู้รบให้ทหารมีความหวังในชัยชนะ ในการเล่นดัมมี่พลานุภาพนี้หมายถึง
การจัดเรียงไพ่ชุดในมือ
และการอมสเปโตให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซุนวูเห็นว่าการเกิดกินแต้มธรรมดา 4 ชุดเล็ก ยังไม่เท่าเกิดสเปโต 1 ชุด เขาจึงเสนอการประยุกต์ใช้วิธีการเล่นจากธรรมดาเป็นแบบพิสดาร คือ
การอมสเปโต วางแผนการเล่น สร้างสถานการณ์ลวง เดี๋ยวอม
เดี๋ยวไม่อมสเปโต ล่อให้ขาอื่นตีตัวกันแล้วจึงเกิดกินสเปโต
ซุนวูอธิบายถึงการจัดวางตำแหน่งไพ่ในมือว่าไพ่จะมากหรือน้อยต่างใช้หลักการจัดเรียงไพ่ให้เป็นชุดเรียงหรือตองเหมือนกัน คุณควบคุมการจัดเรียงไพ่ในมือด้วยการจัดเรียงไพ่คู่ตามตัวเล็กตัวใหญ่ตามเลขและสีของไพ่ให้ถูกต้อง เลขที่ใกล้กันให้นำมารวมกันไว้หากจั่วเข้าคู่ชุดได้ให้เข้าชุดหน้าเรียงก่อนและหาเข้าชุดตองทีหลังเพราะไพ่หน้าเรียงสามารถต่อดัมมี่ไปได้อีก
จัดตำแน่งไพ่ในมือออกเป็น 3 ส่วนตามที่มา คือไพ่ในมือ ไพ่เก็บจากกองและไพ่จั่ว ตำแหน่งไพ่และการตีจะมีความสัมพันธ์กัน จึงต้องหาวิธีการจัดระเบียบให้ดี อย่าสับสน ไพ่ชุดที่จัดเสร็จแล้วให้รักษาไว้อย่าตีออกโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะไพ่แต้มสูงเพราะนี่คือพลานุภาพของไพ่ที่คุณสามารถลงกินแต้มได้ ส่วนไพ่ที่ไม่เข้าพวกต้องดูที่มาของไพ่ว่าจะตีไปได้หรือไม่
ซุนวูบอกว่าพึงแสวงหาพลานุภาพอีกอย่างหนึ่งคือการอมสเปโต เขาเสนอให้เห็นถึงความสำคัญของการอมสเปโตเพราะสเปโตมีแต้มมากที่สุดและการจะเล่นให้ได้นั้นคุณต้องมีใจที่กล้าอมและอาศัยจังหวะเวลาที่เหมาะสม เช่นคุณมีคู่ตัวกันสเปโตและอมสเปโตไว้คุณยังไม่ตีออกไปเพราะเห็นว่ามีขาอื่นที่ยังไม่เกิดเขาอาจตีตัวกันสเปโตมาให้คุณได้ นี่คือการอมสเปโตในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
พลานุภาพเป็นการเล่นที่เปลี่ยนจากการเล่นแบบธรรมดาเป็นแบบพิสดารสร้างความประหลาดใจให้กับขาที่ตีตัวกันให้ แต่การอมสเปโตไม่สามารถทำได้ทุก รอบ คุณต้องสร้างสไตล์การเล่นให้เห็นว่ามีการอมสเปโตบ้าง ไม่อมสเปโตบ้างให้พลิกผันเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ได้ไม่รู้จบ ให้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้นหรือไม่ จะได้กินแต้มหรือไม่
ซุนวูเห็นว่าการจะได้โง่สเปโตนั้นจะต้องมีเหยื่อล่อเคลื่อนให้เห็นและทำให้ขาบนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเราไม่เอาโง่สเปโต ดังตัวอย่างสถานการณ์ที่คุณรอโง่สเปโตหน้าเรียง แต่คุณตีตัวกันสเปโตหน้าตองออกเพื่อหลอกขาบนว่าคุณไม่ได้คอยโง่สเปโต เขาจึงตีสเปโตมาโง่คุณ
นอกจากนี้แล้วเขายังให้ข้อคิดเรื่อง การถือไพ่ให้เหมาะกับสถานการณ์
ผู้เล่นที่ชำนาญจะต้องถือไพ่ให้สามารถเกิดแล้วคอยโง่ได้หรือถือไพ่หลายใบแต่ว่ามีไพ่ชุดและคอยโง่หรือคอยดัมมี่ได้
เขาจะถือไพ่จำนวนที่มีตามสถานการณ์ไม่ลงไพ่โดยไม่จำเป็น ถือนิ่งอยู่อย่างนั้นทำให้ขาอื่นอ่านไพ่ไม่ได้และจะเอาโง่หรือจั่วดัมมี่น็อกทันที นี่คือพลานุภาพ
พลานุภาพของไพ่หรือกำลังของไพ่จะทำให้ผู้เล่นสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสติปัญญาทักษะฝีมือของผู้เล่นว่าจะจัดการไพ่อย่างไร
จิตใจเป็นอย่างไรและมีกลยุทธ์การเล่นอย่างไร
ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบต้องไม่หวาดหวั่นเล่นให้ดีตามแผน
การชนะแต้มเป็นการชนะธรรมดา การชนะน็อกเป็นการชนะที่สูงขึ้นไปอีกแต่การชนะน็อกที่พิสดารต้องเป็นการชนะแบบได้โง่น็อกอมสเปโต