บทที่ 8
เก้าลักษณะ
ซุนวูกล่าวว่า
1. แม้จะรู้ภูมิประเทศ ก็จักมิได้ประโยชน์จากพื้นที่ผู้รู้การศึกจึงควร
รู้แจ้งในพื้นที่ 9 ลักษณะ
พื้นที่สะดวก รวมกับพันธมิตร
พื้นที่คับขัน เตรียมให้พร้อม
พื้นที่ตาย ต้องสู้ตาย
พื้นที่ป้องกัน ไม่ควรยึด
พื้นที่สั้นอันตราย ไม่ควรเดินตาม
พื้นที่ไม่สำคัญ ไม่ควรตี
พื้นที่โดดเดี่ยวชวนให้ตี ไม่ควรตี
พื้นที่กันดาร อย่าหยุดทัพ
พื้นที่โอบล้อม ใช้กลยุทธ์
2. แม่ทัพต้องเชี่ยวชาญการปรับตัวให้ได้เปรียบ
3. วางแผนพึงสร้างสรรค์ พึงปรับตัวตามเงื่อนไขแห่งโอกาสและ
อุปสรรค อาจใช้วิธีต่าง ๆ แต่ได้ผลอย่างเดียวกัน ปัญหาอาจแตกต่างแต่
เราต้องหาทางออกได้เสมอ แก้ไขปัญหาอย่างพลิกแพลง
4. อย่าหวังข้าศึกไม่ตี เราพึงเตรียมพร้อม ทำให้มิอาจโจมตี
5. แม่ทัพต้องมองปัญหารอบด้านใคร่ครวญทั้งผลดีผลเสียจึงจะ
สามารถเสาะหาผลประโยชน์ หลีกเลี่ยงอันตราย ป้องกันไว้ล่วงหน้าได้
เวลาได้เปรียบต้องใคร่ครวญปัจจัยลบ
เวลาเสียเปรียบต้องใคร่ครวญปัจจัยบวก
เวลาประสงค์ให้ข้าศึกสงบ จงขู่ให้กลัว
เวลาประสงค์จะชนะข้าศึก
จงยอมเสียเปรียบเล็กน้อย
6. จุดอ่อนอันตราย 5 ประการ ของแม่ทัพ
สู้ตายอาจถูกฆ่า
กลัวตายอาจถูกจับ
ฉุนเฉียวอาจถูกยั่ว
หยิ่งอาจถูกหยาม
รักราษฎร์ อาจถูกกวน
ซุนวูสอนเล่นดัมมี่ว่า
บทที่ 8
การปรับแผนกลยุทธ์
ในบทนี้ ซุนวู
เน้นที่ผู้เล่นต้องรู้สภาพการรบหรือไพ่กองทิ้งลักษณะต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปหลายรูปแบบ ถึงแม้ว่าคุณจะรู้ไพ่ในกองทิ้งเป็นของใครแต่ก็ไม่อาจได้ประโยชน์จากไพ่เหล่านั้น
ถ้าคุณไม่รู้จังหวะไพ่ในการเกิดคุณก็ไม่มีโอกาสได้รับชัยชนะ ดังนั้นการเล่นไพ่ในกองทิ้งให้ถูกต้อง คุณต้องสามารถปรับเปลี่ยนยุทธวิธีการเกิดไพ่ตามสถานการณ์ได้โดยวิเคราะห์ผลดีผลเสียให้รอบด้าน
และต้องเตรียมไพ่กันไว้ให้พร้อมเพื่อไม่ให้โอกาสขาอื่นเกิดได้
สุดท้ายเขาแสดงถึงจุดอ่อนของผู้เล่น
5 ประการที่ทำให้การเล่นเสียหาย พึงระวัง
ซุนวูกล่าวว่าผู้เล่นที่เชี่ยวชาญต้องรู้ว่าสถานการณ์ไพ่ในมือเป็นอย่างไร สถานการณ์ไพ่ในกองทิ้งมีลักษณะอย่างไรและสถานการณ์ไพ่ขาอื่นเป็นอย่างไรจึงจะสามารถวางแผนการเล่นให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดนั้น เขาเห็นว่าการเล่นต้องปรับแผนไปตามสภาพของไพ่ในกองทิ้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบโดยอาศัยจังหวะในการเก็บไพ่หรือไม่เก็บไพ่และถ้าเก็บไม่ถูกต้องจะมีผลเป็นอย่างไร
ซุนวูแนะนำการเก็บไพ่ในสถานการณ์ที่ต่างกันไว้ดังนี้
ไพ่ตีปี้มาเกิดประโยชน์ ให้เก็บเข้าชุด
ไพ่ใหม่ เก็บมาแล้วให้ระวัง
ไพ่ไม่มีเกิด ต้องเล่นมืด
ไพ่ตัวกันสเปโตให้อยู่อย่างนั้น ไม่เก็บออก
ไพ่กองทิ้งมีน้อยมีโอกาสน็อก ไม่ตีปี้ใกล้
ไพ่ไม่เข้าพวกในมือ ไม่เก็บ ไร้ประโยชน์
ไพ่มีสเปโต ไม่เก็บเสี่ยงโง่
ไพ่ไม่มีซ้ำหน้า ให้จั่ว
ไพ่เก็บแล้วมีชุดอ่อย ให้เก็บ
ซุนวูเตือนว่าอย่าหวังว่าขาอื่นจะไม่เกิด คุณควรตีกันไม่ให้เกิดได้ง่าย และป้องกันไม่ให้ตีโง่เขาได้ เขาให้ข้อคิดว่า ผู้เล่นที่ฉลาดจะต้องมองปัญหารอบด้าน ในสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์จะต้องมองในด้านอันตรายที่แฝงอยู่ในประโยชน์ ในเงื่อนไขที่เป็นอันตรายจะต้องมองเห็นด้านที่เป็นประโยชน์
ต้องใคร่ครวญทั้งผลดีผลเสียจึงจะสามารถเสาะหาผลประโยชน์ หลีกเลี่ยงอันตราย ป้องกันภัยไว้ล่วงหน้าได้ เวลาที่ชนะให้คิดถึงเหตุที่แพ้จึงจะชนะ เวลาแพ้ให้คิดถึงเหตุที่ชนะจึงจะพบทางออก ถ้าต้องการให้ขาบนคิดหนัก จงขู่ให้กลัว ถ้าต้องการให้ขาบนตีตาม จงหลอกล่อ ถ้าต้องการจะชนะ จงยอมลงทุนบ้าง
สุดท้ายซุนวูเตือนผู้เล่นให้เห็นถึงจุดอ่อนของตัวเอง 5 ข้อ ได้แก่
1. ความกล้ามากไป เสี่ยงตีโง่ อาจถูกน็อก
2. ความกลัวเกินไป ฉีกชุดตี
อาจเสียไพ่
3. ความโมโหเกินไป ตีไม่ระวัง อาจถูกหลอก
4. ความหยิ่งเกินไป ไม่อยากเกิด
อาจไม่ได้เกิด
5. ความหวงเกินไป กลัวแข่งแต้ม อาจตีโง่
จุดอ่อนทั้ง 5 ข้อนี้ถือว่าเป็นสาเหตุร้ายแรงที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อไพ่และนำมาซึ่งความพ่ายแพ้ของผู้เล่นดังนั้นผู้เล่นจึงต้องให้ความสำคัญและพิจารณาในเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง การแก้ไขจุดอ่อน ของตัวเองสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงนั้น เช่นหากกล้ามากเกินไปให้คิดถึงอันตรายที่จะตามมา หากกลัวมากเกินไปให้คิดถึงความสำเร็จที่อยู่ข้างหน้า หากโมโหให้หยุดและใช้สติ หากหยิ่งเกินไปให้ยอมรับสภาพความเป็นจริงและหากหวงเกินไปให้เสียสละบ้างเพื่อรักษาเป้าหมายสำคัญ ซุนวูเตือนอีกว่ากลยุทธ์ที่สรรหามาจะเป็นเลิศขนาดไหนก็ไร้ความหมายหากตัวคนเดินกลยุทธ์ขาดวิจารณญาณที่ดี